ทริปดูงาน

วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555

        การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาชุมชน...


จากการที่ชุมชนบ้านดอกบัว  ได้ยึดทางสายกลางในการดำรงชีวิตตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง  โดยน้อมนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  มาปรับใช้ในชุมชน  จึงเกิดการเรียนรู้อย่างพึ่งตนเองมาโดยตลอด  และประสบผลสำเร็จมาโดยตลอดเพราะยึดทางสายกลาง..ภายใต้หลักการและเงื่อนไขดังนี้คือ..
          "หลักความพอประมาณ"   หมายถึง  ความพอดีพอเหมาะต่อความจำเป็นที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
       "หลักความมีเหตุมีผล"  หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น  จะต้องเป็นไปตามเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
        "หลักการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว"  หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
        "เงื่อนไขความรู้"  ประกอบด้วย  ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน  ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน  เพื่อประกอบการวางแผน  และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
        "เงื่อนไขคุณธรรม"  ประกอบด้วย  ความตระหนักในคุณธรรม  ความซื่อสัตย์สุจริต  ความอดทน มีความเพียร  และใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
 การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาชุมชน
1.กิจกรรมที่โดดเด่นและสำคัญของชุมชนที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง
ในอดีตคนใน ชุมชนบ้านบัว มีการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อยู่แล้วแต่ไม่เป็นรูปธรรม ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเน้นย้ำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ประชาชนทุกคน ได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ซึ่งมีกิจกรรมที่สอดคล้องกับ สามห่วง สองเงื่อนไข คือชุมชนมีความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดทั้งมีความรู้คู่คุณธรรม ซึ่งจะขอสรุปในภาพของตัวชี้วัดเป็นด้าน ๆ ประกอบด้วย ด้วยการลดรายจ่าย การเพิ่มรายได้ การประหยัด การเรียนรู้ การอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดทั้งการเอื้ออารี เมื่อหลายปีที่ผ่านมาชุมชนมีการปรับเปลี่ยนหลายๆ อย่างไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งกลุ่มขึ้นมาเพื่อบริหารการจัดการ ในรูปของคณะกรรมการของแต่ละกลุ่ม ด้านการเกษตร ศักยภาพของชุมชนที่มีสภาพภูมิอากาศสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ในการทำนา ซึ่งเป็นอาชีพหลัก จะเห็นว่าการปลูกข้าว มีน้ำเพียงพอ จากเดิมมีการใช้ปุ๋ยเคมี และสารเคมี ซึ่งมีราคาสูง ประกอบกับค่าแรงงานสูง ต่อมามีการนำเอาแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ เกิดประโยชน์ และมีการปรับเปลี่ยนการลดต้นทุนการผลิตโดยการทำปุ๋ยหมักปุ๋ยชีวภาพ ประกอบกับชุมชนมีการเลี้ยงวัว เกือบทุกครัวเรือน จึงมีมูลวัวในปริมาณที่มากพอสำหรับการทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ และ ลดรายจ่ายค่าแรงงานโดยการ เอามื้อ (ลงแขก) ในการทำนา และลดรายจ่ายสำหรับเจ้าภาพ ด้วยการนำห่อข้าวไปกินร่วมกัน

ที่มา  http://www.bandokbua.com/index.php?option=com_content&view=article&id=10&Itemid=25

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น