ทริปดูงาน

วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555

        การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาชุมชน...


จากการที่ชุมชนบ้านดอกบัว  ได้ยึดทางสายกลางในการดำรงชีวิตตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง  โดยน้อมนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  มาปรับใช้ในชุมชน  จึงเกิดการเรียนรู้อย่างพึ่งตนเองมาโดยตลอด  และประสบผลสำเร็จมาโดยตลอดเพราะยึดทางสายกลาง..ภายใต้หลักการและเงื่อนไขดังนี้คือ..
          "หลักความพอประมาณ"   หมายถึง  ความพอดีพอเหมาะต่อความจำเป็นที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
       "หลักความมีเหตุมีผล"  หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น  จะต้องเป็นไปตามเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
        "หลักการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว"  หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
        "เงื่อนไขความรู้"  ประกอบด้วย  ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน  ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน  เพื่อประกอบการวางแผน  และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
        "เงื่อนไขคุณธรรม"  ประกอบด้วย  ความตระหนักในคุณธรรม  ความซื่อสัตย์สุจริต  ความอดทน มีความเพียร  และใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
 การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาชุมชน
1.กิจกรรมที่โดดเด่นและสำคัญของชุมชนที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง
ในอดีตคนใน ชุมชนบ้านบัว มีการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อยู่แล้วแต่ไม่เป็นรูปธรรม ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเน้นย้ำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ประชาชนทุกคน ได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ซึ่งมีกิจกรรมที่สอดคล้องกับ สามห่วง สองเงื่อนไข คือชุมชนมีความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดทั้งมีความรู้คู่คุณธรรม ซึ่งจะขอสรุปในภาพของตัวชี้วัดเป็นด้าน ๆ ประกอบด้วย ด้วยการลดรายจ่าย การเพิ่มรายได้ การประหยัด การเรียนรู้ การอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดทั้งการเอื้ออารี เมื่อหลายปีที่ผ่านมาชุมชนมีการปรับเปลี่ยนหลายๆ อย่างไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งกลุ่มขึ้นมาเพื่อบริหารการจัดการ ในรูปของคณะกรรมการของแต่ละกลุ่ม ด้านการเกษตร ศักยภาพของชุมชนที่มีสภาพภูมิอากาศสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ในการทำนา ซึ่งเป็นอาชีพหลัก จะเห็นว่าการปลูกข้าว มีน้ำเพียงพอ จากเดิมมีการใช้ปุ๋ยเคมี และสารเคมี ซึ่งมีราคาสูง ประกอบกับค่าแรงงานสูง ต่อมามีการนำเอาแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ เกิดประโยชน์ และมีการปรับเปลี่ยนการลดต้นทุนการผลิตโดยการทำปุ๋ยหมักปุ๋ยชีวภาพ ประกอบกับชุมชนมีการเลี้ยงวัว เกือบทุกครัวเรือน จึงมีมูลวัวในปริมาณที่มากพอสำหรับการทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ และ ลดรายจ่ายค่าแรงงานโดยการ เอามื้อ (ลงแขก) ในการทำนา และลดรายจ่ายสำหรับเจ้าภาพ ด้วยการนำห่อข้าวไปกินร่วมกัน

ที่มา  http://www.bandokbua.com/index.php?option=com_content&view=article&id=10&Itemid=25
         
เศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวัน

          ในปัจจุบันปัญหาที่สำคัญและมีผลกระทบต่อประชาชนในสังคมไทยก็คงจะหนีไม่พ้นปัญหาทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการดำเนินชีวิตในทุกๆวันของมนุษย์  กล่าวคือ หากสภาพของเศรษฐกิจมีความคล่องตัว หรือไม่มีปัญหาที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจแล้ว สภาวะความเป็นอยู่ของประชาชนทุกคนก็จะมีความมั่นคงหรือมีสภาพการเป็นอยู่ที่ดี แต่หากสังคมไทยต้องเผชิญกับภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจแล้ว ก็จะเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมของเศรษฐกิจไทยทั่งระบบตลอดจนประชาชนทุกระดับ ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมามากมาย  อาทิเช่น ปัญหาการว่างงาน ปัญหาเงินเฟ้อ เป็นต้น ซึ่งประเทศไทยก็เคยประสบกับสภาวะทางเศรษฐกิจ ดังกล่าวมาบ่อยครั้ง เช่นกัน
          ซึ่งภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจดังกล่าวนี้ จึงทำให้มีการยิบหยกเอาปรัชญาหรือแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพรเจ้าอยู่หัว   มาปฏิบัติใช้ ซึ่งแนวคิดนี้เป็นหลักแนวคิดที่สำคัญที่เราคนไทยทุกคน ทุกระดับสามารถนำไปปฏิบัติได้ ไม่ใช่เฉพาะเกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา อย่างที่หลายคนเข้าใจแต่หมายถึงทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกศาสนา ทุกอาชีพ เราสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับตนเองได้ในทุกๆ เรื่องทั้งการดำเนินชีวิตประจำวันการศึกษาเล่าเรียน หรือทำงานในสาขาใดๆ  
         อีกทั้งแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงยังสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการวางแผน และการบริหารจัดการในด้านต่างๆ ดังนั้นแนวคิดนี้ จึงให้ความสำคัญกับการสร้างรากฐานทางเศรษฐกิจและสังคมให้เข้มแข็ง รักษาความสมดุลของทุน และทรัพยากรในมิติต่างๆ เน้นการพัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไป เป็นขั้นเป็นตอน เพื่อให้เรามีความแข็งแรง ให้เรารู้เท่าทัน ให้เรามีความพร้อมที่จะออกไปแข่งขัน ให้เราก้าวทันต่อโลก ยุคโลกาภิวัตน์
         ดังนั้น หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงเน้นการปฏิบัติที่ไม่ประมาท นั่นคือ เน้นให้เราดำเนินชีวิตบน “ทางสายกลาง” ก็คือ  ความพอเหมาะพอดีไม่น้อยเกินไปไม่มากเกินไปไม่สุดโต่งไม่โลภมากไม่ฟุ้งเฟ้อจนเกินฐานะแต่ก็ไม่ใช่ตระหนี่ถี่เหนียวหรือประหยัดจนขาดแคลนถ้าเราจะนำหลักปรัชญานี้ไปใช้ เราอาจจะจำด้วยหลักง่ายๆ คือ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข อันประกอบด้วย พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี และมีความรู้ มีคุณธรรม  ซึ่งจะนำไปสู่ ชีวิต เศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อม ที่ก้าวหน้าอย่างสมดุล มั่นคง ยั่งยืน และจะนำไปสู่ ประโยชน์สุขของคนไทยในที่สุด

ที่มา  http://www.thaigoodview.com/node/46485

เศรษฐกิจพอเพียง


เศรษฐกิจพอเพียง

“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอก ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการ ทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
                   ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง จึงประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังนี้
๑. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
๒. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
๓. ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
ที่มา  http://www.chaipat.or.th/chaipat/content/porpeing/porpeing.html#porpeing9