ทริปดูงาน

วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ

จุดเริ่มต้นแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

ผลจากการใช้แนวทางการพัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัย ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแก่สังคมไทยอย่างมากในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม สังคมและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งกระบวนการของความเปลี่ยนแปลงมีความสลับซับซ้อนจนยากที่จะอธิบายในเชิงสาเหตุและผลลัพธ์ได้ เพราะการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดต่างเป็นปัจจัยเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน
สำหรับผลของการพัฒนาในด้านบวกนั้น ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความเจริญทางวัตถุ และสาธารณูปโภคต่างๆ ระบบสื่อสารที่ทันสมัย หรือการขยายปริมาณและกระจายการศึกษาอย่างทั่วถึงมากขึ้น แต่ผลด้านบวกเหล่านี้ส่วนใหญ่กระจายไปถึงคนในชนบท หรือผู้ด้อยโอกาสในสังคมน้อย
แต่ว่า กระบวนการเปลี่ยนแปลงของสังคมได้เกิดผลลบติดตามมาด้วย เช่น การขยายตัวของรัฐเข้าไปในชนบท ได้ส่งผลให้ชนบทเกิดความอ่อนแอในหลายด้าน ทั้งการต้องพึ่งพิงตลาดและพ่อค้าคนกลางในการสั่งสินค้าทุน ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ระบบความสัมพันธ์แบบเครือญาติ และการรวมกลุ่มกันตามประเพณีเพื่อการจัดการทรัพยากรที่เคยมีอยู่แต่เดิมแตกสลายลง ภูมิความรู้ที่เคยใช้แก้ปัญหาและสั่งสมปรับเปลี่ยนกันมาถูกลืมเลือนและเริ่มสูญหายไป
สิ่งสำคัญ ก็คือ ความพอเพียงในการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นเงื่อนไขพื้นฐานที่ทำให้คนไทยสามารถพึ่งตนเอง และดำเนินชีวิตไปได้อย่างมีศักดิ์ศรีภายใต้อำนาจและความมีอิสระในการกำหนดชะตาชีวิตของตนเอง ความสามารถในการควบคุมและจัดการเพื่อให้ตนเองได้รับการสนองตอบต่อความต้องการต่างๆ รวมทั้งความสามารถในการจัดการปัญหาต่างๆ ได้ด้วยตนเอง ซึ่งทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นศักยภาพพื้นฐานที่คนไทยและสังคมไทยเคยมีอยู่แต่เดิม ต้องถูกกระทบกระเทือน ซึ่งวิกฤตเศรษฐกิจจากปัญหาฟองสบู่และปัญหาความอ่อนแอของชนบท รวมทั้งปัญหาอื่นๆ ที่เกิดขึ้น ล้วนแต่เป็นข้อพิสูจน์และยืนยันปรากฎการณ์นี้ได้เป็นอย่างดี

พระราชดำริว่าด้วยเศรษฐกิจพอเพียง

“...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป...” (๑๘ กรกฎาคม ๒๕๑๗)
“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานมานานกว่า ๓๐ ปี เป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมไทย เป็นแนวทางการพัฒนาที่ตั้งบนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง ตลอดจนใช้ความรู้และคุณธรรม เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ที่สำคัญจะต้องมี “สติ ปัญญา และความเพียร” ซึ่งจะนำไปสู่ “ความสุข” ในการดำเนินชีวิตอย่างแท้จริง
“...คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา จะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งที่สมัยใหม่ แต่เราอยู่พอมีพอกิน และขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทย พออยู่พอกิน มีความสงบ และทำงานตั้งจิตอธิษฐานตั้งปณิธาน ในทางนี้ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้...” (๔ ธันวาคม ๒๕๑๗)
พระบรมราโชวาทนี้ ทรงเห็นว่าแนวทางการพัฒนาที่เน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นหลักแต่เพียงอย่างเดียวอาจจะเกิดปัญหาได้ จึงทรงเน้นการมีพอกินพอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่ในเบื้องต้นก่อน เมื่อมีพื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควรแล้ว จึงสร้างความเจริญและฐานะทางเศรษฐกิจให้สูงขึ้น
ซึ่งหมายถึง แทนที่จะเน้นการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมนำการพัฒนาประเทศ ควรที่จะสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจพื้นฐานก่อน นั่นคือ ทำให้ประชาชนในชนบทส่วนใหญ่พอมีพอกินก่อน เป็นแนวทางการพัฒนาที่เน้นการกระจายรายได้ เพื่อสร้างพื้นฐานและความมั่นงคงทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ก่อนเน้นการพัฒนาในระดับสูงขึ้นไป
ทรงเตือนเรื่องพออยู่พอกิน ตั้งแต่ปี ๒๕๑๗ คือ เมื่อ ๓๐ กว่าปีที่แล้ว
แต่ทิศทางการพัฒนามิได้เปลี่ยนแปลง
“...เมื่อปี ๒๕๑๗ วันนั้นได้พูดถึงว่า เราควรปฏิบัติให้พอมีพอกิน พอมีพอกินนี้ก็แปลว่า เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง ถ้าแต่ละคนมีพอมีพอกิน ก็ใช้ได้ ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมีพอกินก็ยิ่งดี และประเทศไทยเวลานั้นก็เริ่มจะเป็นไม่พอมีพอกิน บางคนก็มีมาก บางคนก็ไม่มีเลย...” (๔ ธันวาคม ๒๕๔๑)

เศรษฐกิจพอเพียง
“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอก ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการ ทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง จึงประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังนี้
๑. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
๒. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
๓. ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต

โดยมี เงื่อนไข ของการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง ๒ ประการ ดังนี้
๑. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในการปฏิบัติ
๒. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักใน คุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

การพัฒนาชุมชน


กรมการพัฒนาชุมชน ได้ส่งเสริมการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงโดยน้อมนำแนวคิดปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง
ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มาเป็นแนวทางปฏิบัติโดยในปี 2552 และ 2553 ได้สนับสนุนงบประมาณในการพัฒนา
หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ใน 3 ระดับ คือ พออยู่พอกัน อยู่ดีกินดี และมั่งมีศรีสุข จำนวน 910 หมู่บ้าน
และปีงบประมาณ 2554 ได้กำหนดให้มีการขยายผลส่งเสริมหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
เป็นโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบเฉลิมพระเกียรติฯ ใน 1,756 หมู่บ้าน การส่งเสริมหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
เพื่อให้เป็นต้นแบบใน 3 ระดับ (พออยู่พอกัน อยู่ดีกินดี มั่งมีศรีสุข) มีหลักเกณฑ์ในการประเมินความสำเร็จผ่านตัวชี้วัดต่าง ๆ
จำนวน 23 ตัวชี้วัด เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการปฏิบัติที่ชัดเจนขึ้น ในการพัฒนาแต่ละระดับเปรียบเสมือนการขึ้นบันได
จะมีชานพัก ให้เห็นภาพเป็นมิติ ๆ ไป ซึ่งสามารถแยกเป็นชานพักเป็น 3 ชานพัก ใน 3 มิติ คือ มิติด้านสังคม มิติด้านเศรษฐกิจ
และมิติด้านอนุรักษ์และเรียนรู้


หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ระดับพออยู่พอกิน
มิติด้านสังคม มีการสามัคคีและร่วมมือกันของคนในหมู่บ้าน สามารถจัดเวทีประชาคมเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้
มีข้อปฏิบัติร่วมกันให้คนในชุมชนปฏิบัติ รู้จักรักษาสิทธิและหน้าที่ตามระบอบประชาธิปไตย
มิติด้านเศรษฐกิจ ครัวเรือนส่วนใหญ่มีการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย และเข้าร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่มต่าง ๆ ในหมู่บ้าน
มิติด้านอนุรักษ์ มีข้อมูลของชุมชนที่จัดเก็บเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชน ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม และเรียนรู้
มีการวางแผนอนุรักษ์ จัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยใช้กลุ่มองค์กร


หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ระดับอยู่ดีกินดี จะต้องมีตัวชี้วัดเพิ่มเติม ดังนี้
มิติด้านสังคม มีกองทุนสวัสดิการชุมชน การส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรม ที่เป็นรูปธรรม
มิติด้านเศรษฐกิจ มีกิจกรรมลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ส่งเสริมการออมที่เห็นผลชัดเจน
มิติด้านอนุรักษ์ มีการใช้ประโยชน์จากข้อมูลหรือแผนชุมชนไปปฏิบัติจริง สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ และเรียนรู้ด้วยตนเองในระดับหนึ่ง
และมีการใช้พลังงานทดแทนที่เหมาะสมในพื้นที่


หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ระดับมั่งมีศรีสุข ต้องมีตัวชี้วัดเพิ่มขึ้นอีก คือ
มิติด้านสังคม ชุมชนเป็นชุมชนเข้มแข็ง ปลอดยาเสพติด มีการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติได้จริง
มิติด้านเศรษฐกิจ มีการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน สามารถส่งเสริมผลิตภัณฑ์และกิจกรรมในชุมชนที่ชัดเจน
มิติด้านอนุรักษ์ มีการค้นหาและนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาสร้างคุณค่า สร้างภาคีเครือข่าย และเรียนรู้การพัฒนาที่ชัดเจน
และสร้างมูลค่าเพิ่มจากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้แก่ชุมชนได้

" 3 ห่วง 2 เงื่อนไข " จากปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

หลายท่านคงเคยได้ยินเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกันเป็นอย่างดี แต่พอถามว่า “3 ห่วง 2 เงื่อนไข” มีอะไรบ้างในข้อสอบ บรรดานักศึกษาล้วนอึ้งไปตามๆกัน ความจริงแล้วเป็นการสรุปแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในมุมมองง่ายๆ ลองศึกษากันดูนะคะ

3 ห่วง ประกอบด้วย

- ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น

- ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจาการกระทำนั้นๆอย่างรอบคอบ

- มีระบบภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

2 เงื่อนไข ประกอบด้วย

- เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบ ที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขึ้นปฏิบัติ

- เงื่อนไขคุณธรรมที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วยมีความตะหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิตไม่โลภ และไม่ตระหนี่

เศรษฐกิจพอเพียง

1.ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ อะไร

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงชีวิต และปฏิบัติตนของประชาชนทุกระดับตั้งแต่
ครอบครัว ชุมชน จนถึงระดับรัฐทั้งในการดำรงชีวิตประจำวัน การพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ดำเนิน
ไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวหน้าต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก

2.เศรษฐกิจพอเพียงเป็นอย่างไร

เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง เศรษฐกิจที่สามารถอุ้มชูตัวเองได้
ให้มีความพอเพียงกับตัวเอง (Self Sufficiency) อยู่ได้โดยไม่สร้าง
ความเดือดร้อนให้ตนเอง และผู้อื่น ซึ่งต้องสร้างพื้นฐาน
ทางเศรษฐกิจของตนเองให้ดีเสียก่อนมีความพอกินพอใช้สามารถ
พึ่งพาตนเองได้ ย่อมสามารถ สร้างความเจริญก้าวหน้าและ
ฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศได้

3.ใครที่สามารถนำเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติได้

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวปรัชญาที่ทุกๆ คน สามารถนำไปปฏิบัติ
ในชีวิตประจำวันได้ ไม่ว่าจะเป็นตัวท่านเอง นักเรียน เกษตรกร ข้าราชการ
และประชาชนทั่วไป ตลอดจนบริษัท ห้างร้าน สถาบันต่างๆ ทั้งนอกภาค
การเกษตรและในภาคการเกษตร สามารถนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ดังกล่าวไปปฏิบัติ เพื่อดำรงชีวิตและพัฒนาธุรกิจการค้าได้จริง

4.หลักการดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงต้องคำนึง
ถึงอะไรบ้าง

การดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของ
ทางสายกลาง และความไม่ประมาท โดยคำนึงถึงหลักการ 3 ประการ ดังนี้
1.ความพอประมาณ
2.ความมีเหตุผล
3.การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว

โดยการดำเนินงานเศรษฐกิจพอเพียงที่ดีจะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข ความรู้ และคุณธรรม
ตลอดจนต้องเป็นคนดี มีความอดทน พากเพียร
ความพอประมาณ หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับการดำรงชีวิต การดำเนินธุรกิจอย่าง
พอเพียงตามความสามารถ และศักยภาพของตนที่มีอยู่ และต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลที่เหมาะสม
ตลอดจนพึงนึกถึงผลที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ
การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว เป็นการเตรียมความพร้อม ความรู้ ที่จะรับผลกระทบ และ
การเปลี่ยนแปลงต่างๆที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลง

การปฏิบัติตนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
ท่านสามารถมีส่วนร่วมในการปฏิบัติตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงโดยร่วมปฏิบัติในสิ่งง่ายดังนี้
1.ยึดหลักประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในทุกด้าน ลด ละ ความฟุ่มเฟื่อยในการดำรงชีวิต
2.ประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง สุจริต แม้จะตกอยู่ในภาวะขาดแคลนในการดำรงชีพ
3.ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์ที่รุนแรงและไม่ถูกต้อง
4.ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางให้ชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ โดยขวนขวายหาความรู้ ให้เกิดรายได้เพิ่มพูน
จนถึงขั้นพอเพียง
5.ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี ลดละสิ่งชั่วร้ายให้หมดสิ้นไป

5.การดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงจะเกิดผลอย่างไร

การดำเนินการพัฒนาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจักนำไปสู่
1.การดำรงชีวิตที่สมดุลมีความสุขตามอัตภาพ
2.การพัฒนาเศรษฐกิจของตนเองและประเทศชาติมั่นคง
3.การอยู่ร่วมกันในสังคมเกิดวามเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน

นอกจากนี้ ปรัญชาของเศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้ปฏิเสธการเป็นหนี้สิน การกู้ยืมเงิน
แต่เน้นการบริหารความเสี่ยง คือ แม้ว่าจะกู้ยืมเงินมาลงทุน ก็เพื่อดำเนินกิจการที่ไม่ก่อให้เกิด
ความเสี่ยงมากจนเกินไปแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้ห้ามไม่ให้ลงทุนหรือขยายธุรกิจ
แต่เน้นให้ทำธุรกิจที่ไม่ให้เสี่ยงมากเกินไปควรลงทุนให้เหมาะสมกับธุรกิจของตนเอง